หลายๆคนถามมาทางเพจของเราว่า “ทำไมในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันของปี การแห้งตัวของกาวยางถึงช้า-เร็ว ไม่เท่ากัน?” นั่นก็เพราะว่า อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ ส่งผลต่อระยะเวลาการแห้งตัวของกาวยางนะสิ
อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ ส่งผลต่อระยะเวลาการแห้งตัวของกาวยาง
ตอบ ในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ การแห้งตัวของกาวยาง จะช้ากว่า เมื่อเทียบกับการทากาวยาง ขณะอุณภูมิสูง เช่น ในช่วงฤดูร้อน หากทากาวยางไปบนวัสดุ อาจใช้เวลาแห้งตัวประมาณ 5 นาที (ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ทากาวด้วยนะ!) แต่หากทากาวยางในช่วงฤดูหนาว หรือในห้องแอร์ ก็อาจใช้เวลา 7-10 นาทีในการแห้งตัว
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะทากาวยางในสภาพอากาศแบบไหน ต้องมั่นใจว่ากาวยางแห้งตัวสนิท ก่อนที่จะนำวัสดุ 2 ชิ้นมาประกบกัน โดยวิธีที่เหมาะสมในการตรวจสอบว่าหน้าสัมผัสแห้งหรือไม่ คือ ให้คว่ำมือลง แล้วใช้หลังข้อนิ้วกดลงบนพื้นผิวที่ทากาวยางไว้ จากนั้นให้หมุนข้อนิ้ว 90 องศา ถ้ามีกาวยางติดหลังข้อนิ้วมา แปลว่าต้องใช้เวลาเพิ่มในการรอให้กาวยางแห้ง ทั้งนี้ไม่ควรใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือสัมผัส ไปที่บริเวณที่ทากาวยางเอาไว้เนื่องจากเป็นบริเวณผิวหนังที่มีน้ำมัน ที่สามารถถ่ายโอนไปยังพื้นผิว ทำให้การยึดเกาะด้อยลง
อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องทากาวยางในสภาพอากาศที่เย็น เช่น ในห้องแอร์ ก็ควรเลือกใช้กาวยางที่แห้งตัวได้ไว เพื่อให้มั่นใจในผลลัพธ์ของชิ้นงาน แนะนำ! กาวยางSB น้ำเงิน สูตรไร้กลิ่นฉุน
กาวยาง SBน้ำเงิน สูตรไร้กลิ่นฉุน แห้งตัวไว เหมาะสำหรับการเร่ง งานด่วน
แต่รู้หรือไม่ว่า..สิ่งที่มีผลต่อการแห้งตัวของกาวยางมากกว่าอุณหภูมิ คือ “ความชื้น” ในอากาศ เนื่องจากความชื้นส่งผลต่อความเหนียว และประสิทธิภาพการยึดเกาะของกาวยาง หากทากาวในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง เช่น ขณะฝนตกหนัก ก็อาจส่งผลให้ กาวยางไม่แห้งตัว และไม่เกิดการยึดเกาะ นั่นเอง (นั่นก็เพราะว่า กาวยางเป็นกาวที่ต้องรอให้แห้งก่อน ถึงจะสามารถสร้างแรงยึดเกาะได้ หากแปะชิ้นงานขณะกาวเปียก ก็จะไม่ยึดติดกัน)
SB Tip : ดังนั้น สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดในการทากาวยาง คือ สภาพแวดล้อมที่แห้ง และมีอุณหภูมิปานกลาง
สินค้าในบทความ