กาวยาง เรียกได้ว่าเป็นกาวอเนกประสงค์ เพราะสามารถนำไปใช้ติดวัสดุได้หลากหลาย โดยจุดเด่นคือสามารถนำไปใช้ติดวัสดุที่ไม่มีรูพรุน เช่น ลามิเนต หรือพลาสติก ได้ ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่สามารถแห้งตัวได้เองในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะแตกต่างจากกาวชนิดอื่นๆ เช่นกาวขาว หรือกาวร้อน เป็นต้น
(อยากรู้ กาวยางใช้ติดวัสดุอะไรได้บ้าง คลิ๊เลย!)
อย่างไรก็ตามด้วยจุดเด่นนี้เอง ทำให้กาวยาง มีวิธีใช้งานที่แตกต่างจากกาวชนิดอื่นๆเล็กน้อย ผู้ใช้งานจึงควรมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน เพื่อให้ผลงานออกมาติดแน่น สวยเนี๊ยบยาวนานในบทความนี้ เรารวบรวม 6 ข้อที่ไม่ควรทำเด็ดขาดเมื่อต้องทำงานร่วมกับกาวยาง ซึ่งเป็น 6 ข้อที่สำคัญมากๆ และไม่ควรทำโดยเด็ดขาด ถ้าไม่อยากให้งานของคุณพอง บวม เผยอ

อยากอ่านหัวข้อไหน คลิ๊กเลย!
1. ทากาวยางบนวัสดุด้านเดียว
กาวยาง เป็นกาวที่แตกต่างจากกาวชนิดอื่นๆ เพราะเมื่อทาลงไปบนวัสดุแล้ว กาวยางจะสามารถแห้งตัวได้เองอย่างรวดเร็ว เหลืออยู่แต่เพียงส่วนเนื้อกาว ซึ่งเจ้าตัวเนื้อกาวนี้เอง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสาน
เราจึงต้องทากาวยาง ลงบนวัสดุทั้ง 2 ชิ้น เพื่อให้เนื้อกาวที่อยู่บนวัสดุทั้ง 2 ชิ้นดูดเชื่อมประสานกันและกัน จึงจะทำให้วัสดุทั้ง 2 ชิ้นยึดติดกันได้ ซึ่งถ้าเราทากาวยางลงบนวัสดุแค่ด้านเดียว กาวยางก็จะไม่ติดแน่นอน
2. ประกบชิ้นงานขณะที่กาวยังเปียกอยู่
โดยทั่วไปของกาวอื่นๆนั้น เมื่อทาลงบนผิววัสดุ จะต้องรอให้กาวแห้ง หลังจากที่ประกอบวัสดุ 2 ชิ้นเข้าหากันแล้วเท่านั้น แต่ด้วยคุณสมบัติพิเศษของกาวยาง ที่สารทำละลายสามารถระเหยออกเองได้ การประกบชิ้นงานจึงต้องทำหลังจากที่กาวยางแห้งสนิทแล้วเท่านั้น เพราะถ้าเราประกบชิ้นงานขณะที่กาวยางยังไม่แห้งตัวสนิท สารทำละลายในกาวก็จะยังคงพยายามระเหยออกอยู่ ซึ่งก็จะดันชิ้นงานที่เราประกบกัน จนเกิดการพอง บวม ของชิ้นงานได้
การประกบชิ้นงานขณะที่กาวยางยังไม่แห้งตัวสนิท ถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลักของการพองบวมของชิ้นงานเลยก็ว่าได้
(อยากรู้ กาวยาง ทำไมต้องทาวัสดุทั้ง 2 ด้าน และต้องรอแห้งแค่ไหน ถึงประกบได้ คลิ๊กเลย!)

3. ทิ้งให้กาวยางแห้งตัวบนวัสดุนานเกินไป
การรอแห้งของกาวยาง ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 8-15 นาทีขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศ
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ยิ่งรอนานยิ่งดี แต่ก็ไม่ควรรอนานเกิน 45 นาที เพราะนอกจากจะทำให้ความเหนียวของกาวลดลงไปแล้ว ระหว่างที่รอแห้ง ก็อาจมีฝุ่นผงต่างๆเข้าไปติดบนหน้าผิวของกาวได้
อย่างไรก็ตามหากเผลอรอนานเกิน แนะนำให้ทากาวยางบางๆลงบนผิววัสดุด้านหนึ่ง แล้วรอให้กาวยางแห้งตัวอีกรอบ ก่อนจะประกบชิ้นงาน เพื่อกระตุ้นให้ความเหนียวของกาวยางกลับมาอีกครั้ง
4. ไม่ปล่อยให้ชิ้นงานเซ็ตตัวหลังประกบ
หนึ่งในจุดเด่นของกาวยาง คือสามารถสร้างแรงยึดเกาะที่แนบแน่นได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเมื่อเราประกบชิ้นงานแล้ว กาวยางก็จะยึดติดในทันที ยังไงก็ตาม กาวยางจะใช้เวลาเซ็ตตัวประมาณ 24 ชั่วโมงหลังจากประกบติด เพื่อการยึดเกาะที่ถาวรสูงสุด เพราะฉะนั้นหลังจากประกบชิ้นงานแล้ว ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกก็ไม่ควรไปแงะ หรือแกะชิ้นงาน รวมไปถึง ไม่ควรนำชิ้นงานไปตากแดดหรือโดนความร้อนสูงในช่วงเวลานี้ด้วย
5. เจือจางกาวด้วยสารทำละลายต่างๆ
ไม่แนะนำให้เจือจางกาวยางด้วยการเติมสารทำละลาย เพราะการเติมสารทำละลายโดยไม่ผสมให้เข้าไปในเนื้อกาว จะส่งผลกาวแยกชั้น รวมไปถึงทำให้การยึดเกาะของกาวยางลดลง อีกด้วย

6. ทากาวยางบนวัสดุไม่ทั่วถึง หรือทาน้อยเกินไป
การทากาวยางไม่ทั่วทั้งชิ้นงาน หรือทาน้อยเกินไป เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ชิ้นงานเผยอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวัสดุที่มีรูพรุน เช่น ไม้MDF เนื่องจากวัสดุเหล่านี้จะดูดกาวเข้าไปในเนื้อวัสดุมาก ทำให้มีกาวยางหลงเหลือบนหน้าผิววัสดุ ไม่เพียงพอสำหรับยึดเกาะ เพราะฉะนั้นสำหรับวัสดุที่มีรูพรุนมาก จึงแนะนำให้ทากาวยาง 2 รอบ นอกจากนี้ บริเวณขอบหรือมุม ของชิ้นงาน ซึ่งเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเผยอมาก ก็ควรทากาวยาง 2 รอบด้วย
นอกจากนี้ ก็ควรเลือกใช้กาวยางที่มีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการยึดเกาะ เช่น กาวยางSBแดง สูตรพรีเมี่ยม กาวยางมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. 521-2527) ที่มีปริมาณเนื้อกาวสูงถึงร้อยละ 22 (ค่ามาตรฐานกำหนดไว้ที่ร้อยละ 15)

สินค้าในบทความ




